my work

Facebook กับการใช้งาน






เริ่ม...การใช้งาน Facebook


ในโลกสังคมออนไลน์ Facebook เป็นหนึ่งใน เว็บไซต์ประเภท Social Networking (เว็บสังคม) ที่ใหญ่มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก


ที่ต่างมาร่วมแบ่งปันความรู้สึก ความคิดเห็น รวมทั้งการหาเพื่อนๆ สมัยเด็กๆ หรือจะทำธุรกิจ Promoteสินค้าผ่านทาง Facebook ก็ได้ด้วยเช่นกัน




ทำความรู้จักกับ.... Facebook


Social Networking คำแปลที่หมายถึง เครือข่ายสังคม ซึ่งก็คือ หมายถึง เครือข่ายสังคมในโลกออนไลน์อย่างอินเตอร์เน็ต ที่สามารถเชื่อมโยงคนต่างๆ จากทุกมุมโลกเข้าด้วยกัน ทำให้เราสามารถแบ่งปันข้อมูล ความรู้ และโดยเฉพาะความรู้สึกให้แก่กันได้ง่ายๆ


ปัจจุบันเว็บที่ให้บริการลักษณะนี้มีมากมายหลายเว็บ
แต่ที่ดังมากที่สุดมีหลายแห่ง ได้แก่



www.facebook.com
www.Twitter.com
www.multiply.com
www.hi5.com
www.friendster.com

Facebook คืออะไร


Facebook ก็คือ Soical Networking เว็บไซต์หนึ่งที่มีผู้นิยมใช้งานกันมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก


แค่เราสมัครเป็นสมาชิกกับ Facebook เราก็จะสามารถแบ่งปันข้อมูล รูปภาพ ความรู้สึกผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของ Facebook ได้


ที่สำคัญมากที่เป็นจุดประสงค์หลักของ Facebook ก็คือ การหาเพื่อนเก่าผ่านทาง Facebook และสามารถหาเพื่อนใหม่ๆ ได้จากทุกมุมโลกเช่นกัน?


แต่ดูเหมือนว่า Facebook จะมีหลักการเช่นเดียวกันการบันทึกลง "หนังสือรุ่น" นั่นเอง แต่แน่นอน เนื่องจากเป็นเว็บไซต์ Facebook จึงทำอะไรๆ ได้มากมายก็ หนังสือรุ่นธรรมดา




จุดเริ่มต้นของ Facebook


Mr. Mark Zuckerburg ผู้จุดประกายจุดเริ่มต้นของ Facebook


ในสมัยที่เป็นนักศึกษา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้แนวคิดมาจาก การเขียนหนังสือที่ใช้สำหรับแนะนำตัวกับเพื่อนใหม่ในชั้นเรียน และนำมาดัดแปลงมาเป็นเว็บไซต์ในโลกของอินเตอร์เน็ต เริ่มต้นก็ใช้ในระดับมหาวิทยาลัย และแพร่กระจายไปเรื่อยๆ จนกระทั่งยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน


ดังนั้น Mr. Mark Zuckerburg ได้กลายเป็นเศรษฐีที่อายุน้อยคนหนึ่งของโลกเลยทีเดียว


ปัจจุบัน Facebook ได้มีการแปลเป็นภาษามากมาย รวมทั้งภาษาไทยด้วย
และที่ทำให้เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วมาก ก็เพราะเป็นการให้บริการฟรี


การบริการของ Facebook แบ่งออกได้ 2 ช่องทาง


1.www.facebook.com- เวอร์ชั่นหลักๆ หรือ Original

2.http://lite.facebook.com- เวอร์ชั่นเบาๆ ที่ทำงานได้รวดเร็วมาก



วิธีการสมัคร Facebook

สำหรับผู้สนใจ จะใช้งาน Facebook ก็เพียงแค่มี E-mail address เท่านั้น คุณก็สามารถสมัครเป็นสมาชิกได้แล้ว แต่ถ้ายังไม่มีก็แนะนำให้รีบไปสมัครใช้บริการฟรีอีเมลต่างๆ เช่น Gmail.com, Hotmail.com, Yahoo.com เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ไม่อยากแนะนำให้ใช้อีเมลของบริษัท เพราะเวลาเราย้ายงาน จะทำให้อีเมล์นั้นถูกยกเลิกไป และที่สำคัญอีกอย่าง นี่เป็นเรืองส่วนตัวๆ ไม่ใช่เรื่องงาน



ขั้นตอนการลงทะเบียนหรือสมัครใช้บริการ Facebook






1 คลิกเข้าไปที่ www.facebook.com

2 กรอกรายละเอียดในหน้าแรก เพื่อสมัครสมาชิก (แนะนำให้กรอกข้อมูลตามความเป็นจริง และโดยเฉพาะ E-mail เพราจะต้องมีการยืนยันการใช้งานผ่าน E-amil ด้วย)

3 กดปุ่ม "ลงทะเบียน" ถ้าเป็นภาษาอักกฤษคือ "Sign Up"

4 ทำตามขั้นตอนต่างๆ ที่หน้าจอ ซึ่งจะมีข้อมูลให้กรอกชื่อของโรงเรียน การอัปโหลดรูปภาพ เป็นต้น

5 หลังจากนั้น ระบบจะทำการส่ง E-mail ไปให้คุณตามที่ได้กรอกในขั้นตอนสมัคร และให้คุณเปิดและคลิกลิงค์ ยืนยันการรับ E-mail ด้วย
(ถ้าไม่ได้รับ mail ใน Inbox ให้ลองตรวจสอบในโฟลเดอร์ JunkMail ด้วย

6 ภายใน E-mail จะมี ลิงค์ให้เรากดเพื่อยืนยันการใช้งาน

แค่นี้ก็เป็นอัน เสร็จสิ้นในขั้นตอนการสมัครใช้บริการแล้ว
จากนั้นคุณก็สามารถเข้าไปใช้บริการของ Facebook ได้แล้ว
ยินดีกับสมาชิกใหม่ด้วยนะคะ



เริ่มการใช้งาน Facebook


แน่นอน สิ่งแรกที่เราจำเป็นก่อนใช้งาน Facebook นั้นคือ การ Login เข้า Facebook
ในหน้าแรกของเว็บไซต์ www.facebook.com


และทุกครั้งก่อนเลิกใช้งาน ก็อย่าลืม Logout เพื่อออกจากระบบ
เพราะไม่อยากนั้น คนอื่น อาจแอบมาใช้งาน Facebook ของเราได้




การใช้งาน Facebook


1 กรณีใช้งานในร้านอินเตอร์เน็ต หรือสถานที่ใดๆ ที่ไม่ใช่ที่บ้านของเรา ในช่องของการ Login จะมี ช่องสี่เหลี่ยมแสดงข้อความ "keep me logged in"? ซึ่งจะใช้สำหรับการจำค่าของ Login ของคุณ คุณไม่ควรเลือกหัวข้อนี้


2 ทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน จะต้องทำการ Logout ทุกครั้ง (อยู่ด้านบนของหน้าต่าง Facebook)


3 กรณี ลืมรหัสผ่าน หรือ Password เราก็สามารถให้ระบบส่งรหัสผ่านทางอีเมลของเราได้ โดยคลิกผ่าน Forgot Password Facebook


- โดยการคลิก "Forgot your password?"
- พิมพ์ข้อความ ตัวอักษรที่แสดงบนหน้าจอ
- พิมพ์ชื่ออีเมล ที่เราสมัครสมาชิกไว้
- กดปุ่ม Reset Password (Facebook จะทำการส่งรหัสผ่านให้ทางอีเมล)
แค่นี้เราก็สามารถกลับมาใช้งาน Facebook ได้ดังเดิมแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น